วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของพลาสติกประโยชน์ของพลาสติก

ประโยชน์ของพลาสติกคืออะไร

ถังขยะพลาสติกเป็นวัสดุที่มนุษย์คิดค้นและ ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยให้เรามี ชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้น ในอดีตเราไม่เคยรู้จักถังขยะพลาสติกเลยจนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 19 วัสดุดั้งเดิมที่มนุษย์ค้นเคยและใช้อยู่ทั่วไปในชีวิตประจำวันในยุคก่อนหน้า นี้ล้วนเป็นวัสดุจากธรรมชาติทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น แก้ว ไม้ กระดาษ โลหะ ยาง หรือ ขนสัตว์ สิ่งเหล่านี้เคยเป็นวัสดุที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามมนุษย์ยังคงพยายามค้นหาวัสดุใหม่ๆ มาใช้งานอยู่เสมอ

สั่งถังขยะพลาสติก กับ 24Plastic ได้ที่นี่

ถังขยะพลาสติก จัดเป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ประกอบด้วยโมเลกุลซ้ำๆ กันต่อกันเป็นโมเลกุลสายยาวๆ ประกอบด้วยธาตุสำคัญ คือ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, และออกซิเจน นอกจากนี้อาจมีธาตุอื่นๆเป็นส่วนประกอบย่อย ซึ่งได้แก่ ไนโตรเจน, ฟลูออรีน, คลอรีน, และกำมะถัน เป็นต้นบางครั้งพบว่ามีการใช้คำว่า “พลาสติก” และ “โพลิเมอร์” ในความหมายเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่คำว่า “โพลิเมอร์” มักหมายถึงวัสดุประเภทพลาสติก ยาง เส้นใย และกาว ส่วนคำว่า “พลาสติก” จะหมายถึงสารผสมระหว่างโพลิเมอร์และสารเติมแต่ง เช่น สี สารพลาสติกไซเซอร์ สารเพิ่มเสถียรภาพ และฟิลเลอร์ ที่ถูกนำมาใช้งานเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปโดยการขึ้นรูปให้มีรูปทรงต่างๆเช่น ถัง เก้าอี้ ของเล่นเด็ก จาน และช้อนเป็นต้น หากแปลตามรากศัพท์คำว่า โพลิเมอร์ หรือ polymer มาจากคำกรีก 2 คำ คือคำว่า poly แปลว่ามาก และคำว่า mer แปลว่าหน่วย โพลิเมอร์จึงแปลว่า สารที่มีโมเลกุลประกอบด้วยหน่วยซ้ำๆกันต่อกันเป็นสายยาวๆ

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กระบวนการรีไซเคิลพลาสติก

พลาสติกแต่ละชนิดจะถูกนำมาบดให้เป็นชิ้นเล็ก และล้างทำความสะอาดในบ่อน้ำขนาดใหญ่ ในขั้นตอนนี้ฝุ่นและสิ่งสกปรกจะถูกกำจัดออกไป

หลังจากนั้นชิ้นพลาสติกจะถูกทำให้แห้งโดยการตากแดดหรือใช้อากาศร้อน ป้ายกระดาษหรือฟิล์มที่ติดมากับชิ้นพลาสติกจะถูก

เป่าแยกออกมา จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการหลอมชิ้นพลาสติกผ่านเครื่องอัดรีด (Extruder) ออกมาเป็นเส้น ก่อนตัดให้เป็นเม็ดเล็กๆ บรรจุลงกล่อง เพื่อส่งไปยังโรงงานขึ้นรูปพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หากการขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ใช้เม็ด

กระบวนการรีไซเคิลพลาสติกเริ่มต้นด้วยการแยกพลาสติกชนิดต่าง ออกจากกัน เนื่องจากพลาสติกต่างชนิดกันมี

สมบัติแตกต่างกัน เช่น จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ความแข็ง ความนิ่ม ความใส เมื่อพลาสติกแต่ละชนิดถูกแยกออกจากกัน

แล้ว จะถูกบีบให้แบนแล้วมัดรวมกันเป็นก้อน เพื่อแยกส่งไปยังโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่โรงงาน

พลาสติกรีไซเคิลทั้งหมด ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้จะมีสมบัติทางกายภาพลดลง บางครั้งโรงงานจะนำเม็ดพลาสติกใหม่มาผสม

เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีสมบัติดีขึ้น ตัวอย่างพลาสติกรีไซเคิลเรียงตามตัวเลขระบุที่ใต้ขวด หรือภาชนะ

1. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate, PET, PETE) ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดบรรจุของดอง ขวดแยม ขวด

น้ำมันพืช ถาดอาหารสำหรับเตาอบ และเครื่องสำอาง สามารถนำมารีไซเคิลเป็นเส้นใย สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม ใย

สังเคราะห์สำหรับยัดหมอน ถุงหูหิ้ว กระเป๋า ขวด

2. โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (High Density polyethylene, HDPE) ใช้ทำขวดนม น้ำ ผลไม้ โยเกิร์ต บรรจุภัณฑ์สำหรับ

น้ำยาทำความสะอาด แชมพูสระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว สามารถนำมารีไซเคิลเป็นขวดใส่น้ำยาซักผ้า ขวดน้ำมันเครื่อง ท่อ ลัง

พลาสติก ไม้เทียมเพื่อใช้ทำรั้วหรือม้านั่งในสวน

3. โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride, PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ม่านในห้องอาบน้ำ

แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม ประตู หน้าต่าง วงกล และหนังเทียม สามารถนำมารีไซเคิลเป็นท่อ

น้ำประปาหรือรางน้ำสำหรับการเกษตร กรวยจราจร เฟอร์นิเจอร์ ม้านั่งพลาสติก ตลับเทป เคเบิล แผ่นไม้เทียม

4. โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density polyethylene, LDPE) ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็น

สำหรับบรรจุอาหาร สามารถนำมารีไซเคิลเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว ถังขยะ กระเบื้องปูพื้น เฟอร์นิเจอร์ แท่งไม้เทียม

5. โพลิโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส

แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา สามารถนำมารีไซเคิลเป็นกล่องแบตเตอรี่ในรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น กันชนและกรวยสำหรับ

น้ำมัน ไฟท้าย ไม้กวาดพลาสติก แปรง

6. โพลิสไตรีน (Polystyrene, PS) ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้เช่น เทปเพลง สำลี หรือของแห้ง เช่น หมูแผ่น หมูหยอง และคุ๊กกี้

นอกจากนั้นยังนำมาทำโฟมใส่อาหาร ซึ่งจะเบามาก สามารถนำมารีไซเคิลเป็นไม้แขวนเสื้อ กล่องวิดีโอ ไม้บรรทัด กระเปาะ

เทอร์โมมิเตอร์ แผงสวิตช์ไฟ ฉนวนความร้อน ถาดใส่ไข่ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

7. พลาสติกชนิดอื่นที่ไม่ใช่พลาสติกทั้ง 6 กลุ่มข้างต้น หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกหลายชนิด

ในขั้นตอนของการบดพลาสติกเพื่อให้มีขนาดเล็กลง ไม่ไปอุดตันในกระบวนการรีไซเคิลนั้น จะทำให้พลาสติกรีไซเคิลมีสมบัติ

ความแข็งแรงทางกายภาพลดลง เนื่องจากแรงเฉือนเชิงกล (Mechanical Shear) ใน เครื่องบดไปทำลายโซ่ของโพลิเมอร์ให้แตก

ออก ทำให้ความยาวของโมเลกุลและน้ำหนักโมเลกุลลดลง ซึ่งส่งผลให้สมบัติเชิงกลของพลาสติกลดลง นอกจากนั้น เรื่องของ

ความบริสุทธิ์ก็มีความสำคัญต่อสมบัติของพลาสติกแต่ละชนิดในการเลือกเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หากใช้

กระบวนการแยกพลาสติกที่ไม่ดีพอ อาจทำให้ไม่ได้พลาสติก รีไซเคิลที่บริสุทธิ์

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชนิดของพลาสติก

ชนิดของพลาสติก by 24plastic.com



การที่เราจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้น นอกจากจะรักการอ่าน และตั้งใจเรียนแล้ว มักต้องมีลักษณะเฉพาะตัวบางประการเช่นเป็นคนช่างสังเกต ขี้สงสัย และเป็นนักทดลองตัวยง สิ่งที่ได้รู้ หรือได้ฟังมาอาจยังไม่สามารถทำให้เชื่อได้ นอกจากจะได้เห็น หรือได้สัมผัสด้วยตัวเอง ตรงกับสุภาษิตไทยที่ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ การเป็นคนช่างสังเกต และขี้สงสัยอาจเกิดขึ้นได้ทุกที่และตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องเกิดเฉพาะขณะที่เราอยู่ในชั้นเรียนเท่านั้น วัสดุที่อยู่รอบๆตัวเราเช่นกล่องพลาสติก เชือก กาวหรือแม้แต่หนังยางรัดของที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง สามารถนำมใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการทดลองได้เป็นอย่างดี อย่างเช่นหากบอกว่าพลาสติกนะ หนักนะ จมน้ำด้วย ใครจะเชื่อบ้าง ลองอ่านบทความนี้เพื่อทำวามรู้จักกับพลาสติกกันก่อน แล้วในตอนท้ายจะมีการทดลองง่ายๆที่ใครๆก็ทำได้ และยังทำให้เรารู้ว่า ที่เราเคยเข้าใจว่าพลาสติกเบา และลอยน้ำนั้น ไม่จริงเสมอไป

พลาสติก เป็นวัสดุที่ทุกๆคนคุ้นเคย มักพบเห็นโดยทั่วไปในรูปของกล่อง ขวด หรือถุงสำหรับบรรจุขนม เครื่องดื่ม หรือของใช้ต่างๆเราจับต้องและใช้พลาสติกอยู่ทุกวัน เคยสังเกตหรือไม่ว่าพลาสติกที่ใช้ทำขวดใส่น้ำอัดลมมีลักษณะใส และเหนียว แตกต่างจากขวดแป้งฝุ่น ยาสระผมมักมีสีสัน ทึบแสง และค่อนข้างนิ่ม หรือกล่องพลาสติกสำหรับเก็บเทปเพลง คุกกี้หรือของแห้งที่มีสมบัติแข็ง ใส แต่แตกง่ายไม่เหมาะที่จะนำมาบรรจุน้ำดื่ม หรือยาสระผมเพราะอาจลื่นตกแตกได้ ความจริงแล้วพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีมากมายหลายชนิด และมีสมบัติแตกต่างกัน เราลองเก็บรวบรวมขวดหรือกล่องพลาสติกที่เราไม่ใช้แล้วมาทดลองแยกชนิดเพื่อ เปรียบเทียบสมบัติและการใช้งาน ให้สังเกตที่ก้นของภาชนะพลาสติกส่วนใหญ่ที่เราใช้อยู่เป็นประจำจะเห็นสัญญา ลักษณ์ตัวเลข 1-7 ที่อยู่ภายในสามเหลี่ยม ตัวเลขเหล่านี้ช่วยให้เราแยกชนิดพลาสติกได้ง่ายขึ้น

1. โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (polyethylene terephthalate, PET)

PET เป็นพลาสติกที่ค่อนข้างแข็งและเหนียวไม่เปราะแตกง่าย และส่วนใหญ่จะใสทำให้มองเห็นความใสของผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน จึงนิยมใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำมันพืช และเครื่องสำอาง นอกจากนี้ ขวด PET ยังมีสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของกาซคาร์บอไดออกไซด์ได้ดี จึงนิยมใช้ทำเป็นภาชนะบรรจุน้ำอัดลม

PET สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้โดยนิยมนำมาผลิตเป็นเส้นใยโพลิเอสเตอร์ สำหรับทำเสื้อกันหนาว พรม และใยสังเคราะห์สำหรับยัดหมอน

2. โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (high density polyethylene, HDPE)

HDPE เป็นพลาสติกที่ค่อนข้างนิ่มแต่เหนียวไม่แตกง่าย ส่วนใหญ่ทำให้มีสีสันสวยงาม ราคาถูก ขึ้นรูปได้ง่ายทนสารเคมีจึงนิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด แชมพูสระผม แป้งเด็ก และถุงหูหิ้ว นอกจากนี้ ภาชนะที่ทำจาก HDPE ยังมีสมบัติป้องกันการแพร่ผ่านของความชื้นได้ดี จึงใช้เป็นขวดบรรจุนม เพื่อยืดอายุของนมให้นานขึ้น

HDPE สามารถนำกลับมารีไซเคิล เพื่อผลิตขวดใส่น้ำยาซักผ้า แท่งไม้เทียมเพื่อใช้ทำรั้ว ศาลา หรือม้านั่งในสวน

3. โพลิไวนิลคลอไรด์ (polyvinylchloride, PVC)


PVC เป็นพลาสติกที่มีสมบัติที่หลากหลาย มีทั้งแข็งเช่นท่อน้ำประปา PVC และนิ่มเช่นสายยางใสแบบนิ่ม และแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร สามารถทำให้มีสีสันสวยงามได้ จากสมบัติที่หลากหลายของ PVC นี้เอง ทำให้เรานิยมนำทำ ม่านในห้องอาบน้ำ แผ่นกระเบื้องยาง แผ่นพลาสติกปูโต๊ะ ขวดใส่แชมพูสระผม นอกจากนี้เรายังนิยมใช้ PVC ทำวัสดุอื่นๆเช่นประตู หน้าต่าง วงกบ และหนังเทียม

PVC สามารถนำกลับมารีไซเคิล เพื่อผลิตท่อน้ำประปาสำหรับการเกษตร กรวยจารจร และเฟอร์นิเจอร์ หรือม้านั่งพลาสติก


4. โพลิเอทิลีนชนิดความหนา แน่นต่ำ (LDPE)

LDPE เป็นพลาสติกนิ่ม สามารถยืดตัวได้ดีในระดับหนึ่ง มีความใส นิยมนำมาทำเป็นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร ห่อของ และถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร และถุงใส่ขนมปัง นอกจากนี้ยังนำมาใช้ผลิตขวดที่มีลักษณะนิ่ม ที่ต้องการให้บีบได้ง่าย เช่นขวดบรรจุสารละลาย ขวดบรรจุซอส เป็นต้น

LDPE สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้ โดยใช้ผลิตเป็นถุงดำสำหรับใส่ขยะ ถุงหูหิ้ว หรือถังขยะ

5. โพลิโพรพิลีน (polypropylene, PP)

PP เป็นพลาสติกที่แข็ง เหนียวทนต่อแรงกระแทกได้ดี ทนต่อสารเคมี ความร้อน และน้ำมัน ทำให้มีสีสันสวยงามได้ ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่นถุง กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า หรือกระบอกสำหรับใส่น้ำแช่เย็น หลอดดูน้ำเป็นต้น

PP สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้โดยนิยมผลิตเป็นกล่องแบตเตอรี่รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์เช่นกันชน กรวยสำหรับเติมน้ำมัน

6. โพลิสไตรีน (polystyrene, PS)

PS เป็นพลาสติกแข็ง ใส แต่เปราะและแตกง่าย ราคาถูก นิยมนำมาทำเป็นภาชนะบรรจุของใช้เช่น เทปเพลง สำลี หรือของแห้งเช่นหมู่แผ่น หมูหยองและคุกกี้ พลาสติกประเภทนี้นิยมนำมาใช้ทำภาชนะหรือถาดโฟมสำหรับบรรจุอาหาร นอกจากนี้ยังนำมาใช้เป็นโฟมกันกระแทกขณะขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นโฟมมีน้ำหนักที่เบามากเนื่องจากประกอบด้วยพลาสติก PS 2-5% เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นอากาศที่แทรกอยู่ในช่องว่าง

PS สามารถนำกลับมารีไซเคิลใช้ใหม่ได้โดยนิยมผลิตไม้แขวนเสื้อ กล่องวีดีโอ ไม้บรรทัด หรือของใช้อื่นๆ

7. พลาสติกอื่นๆ ที่ไม่ใช้ 6 ชนิดแรก หรือไม่ทราบว่าเป็นพลาสติกชนิดใด

อาจมีคนช่างสงสัยบางคน สงสัยว่าทำไม่เราต้องมีตัวเลขเพื่อช่วยแยกชนิดพลาสติกออกเป็นประเภทต่างๆ คำตอบคือผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้เมื่อใช้เสร็จแล้วสามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือหลอมเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ใหม่ได้ การแยกชนิดพลาสติกต่างๆออกจากกัน จะทำให้ได้พลาสติกรีไซเคิลที่มีคุณภาพดี เป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ เพราะวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกเหล่านี้ล้วนได้มาจากผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมและกาซธรรมชาติทั้งสิ้น และช่วยลดปริมาณขยะที่จะถูกนำไปฝัง หรือเผาด้วย

คนช่างสังเกตอาจสังเกตเห็นว่ากล่อง หรือขวดพลาสติกบางชิ้นไม่มีสัญญาลักษณ์ตัวเลขอย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้น แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพลาสติกเหล่านั้นเป็นพลาสติกประเภทไหน เราสามารถแยกชนิดของพลาสติกโดยอาศัยหลักการง่ายๆที่ว่าพลาสติกต่างชนิดกันมี ความหนาแน่นแตกต่างกันตามที่แสดงไว้ในตารางข้างล่าง



พลาสติก สัญญลักษณ์ จุดหลอมเหลว (oC) ความหนาแน่น
PET 250-260 1.38-1.39
HDPE 130 0.95-0.97
PVC 75-90 1.15-1.35
LDPE 110 0.92-0.94
PP 160-170 0.90-0.91
PS 70-115 1.05-1.07

ใครๆก็บอกว่าพลาสติกลอยน้ำ

การทดลองสนุกๆที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อเรียนรู้หลักการเรื่องความหนาแน่นสามารถทำได้โดยตัดขวดใสสำหรับน้ำดื่ม (PET) และ ขวดแป้งฝุ่นหรือแชมพูสระผม (HDPE) เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทดลองจุ่มลงในน้ำ (D=1) แล้วทายเพื่อนๆว่าชิ้นพลาสติกทั้งสองนี้จะลอย หรือจม เพื่อนๆส่วนใหญ่มักตอบว่าชิ้นพลาสติกทั้งสองชิ้นนี้น่าจะลอยน้ำเนื่องจาก ความเคยชินที่เห็นขวดเหล่านี้ถูกทิ้งลอยอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง หรือความรู้สึกที่ว่าพลาสติกเบาจึงน่าที่จะลอยน้ำ แต่คนที่ชอบทดลองบางคนอาจตอบว่าพลาสติกใสจม แต่พลาสติกสีขาวขุ่นลอยน้ำ เนื่องจากรู้หรืออ่านบทความนี้มาก่อนหน้าแล้ว แล้วยังอาจถามเรากลับมาอีกว่าแผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหารที่เขาตัดไว้เป็นชิ้น เล็กๆนี้ควรจะลอย หรือจะจมน้ำ เราต้องไม่รอช้าถามกลับไปทันทีว่าแผ่นฟิล์มเป็นชนิด LDPE หรือ PVC เพราะผลการทดลองจะไม่เหมือนกัน ถ้าชิ้นพลาสติกมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำจะลอย ในขณะที่หากมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมน้ำ


สนใจพลาสติกคุณภาพดีราคาถูกได้ที่ 24plastic บริษัท แอลดี พลาสติก จำหน่าย พลาสติกทุกชนิด เช่น กล่องพลาสติก ถังพลาสติก ถังขยะพลาสติก โต๊ะพลาสติก เก้าอี้พลาสติก ลังพลาสติกรวมถึง พาเลทพลาสติก หลัวปลา ผลิตด้วยเม็ดพลาสติกเกรดเอ และ รับผลิตเฟอร์นิเจอร์จากพลาสติกจำนวนมาก คุณภาพดี ราคาถูก